ชาวประมงเมืองคอนผวามหัตภัยเอเลี่ยนสปีชีส์“ปลาหมอคางดำ”บุกแหล่งน้ำลุ่มน้ำปากพนัง | กระบี่ไทม์

 ชาวประมงเมืองคอนผวามหัตภัยเอเลี่ยนสปีชีส์“ปลาหมอคางดำ”บุกแหล่งน้ำลุ่มน้ำปากพนังเป็นจังหวัดที่ 14 ของประเทศ


ชาวประมงเมืองคอนผวาเอเลี่ยนสปีชีส์ บุกแหล่งน้ำลุ่มน้ำปากพนังเป็นจังหวัดที่ 14 ของประเทศสภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขตปากพนังเสนอญัตติด่วนนำเข้าที่ประชุม /ชี้จังหวัดเร่งประกาศ เขตพื้นที่สีแดงภัยพิบัติพื้นที่ปากพนัง-หัวไทร /เร่งประชาสัมพันธ์และจัดชุดไล่ล่าเพื่อการบริโภคและทำลายอย่างจริงจังต่อเนื่อง


  ( 19 มิ.ย.) ที่ศูนย์ปฏิบัติการ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยมี นายศรีธรรม ราชแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธาน ที่ห้องประชุมสำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งในที่ประชุมได้หยิบยกปัญหาการแพร่ะบาดของปลาหมอคางดำในจังหวัดนครศรีธรรมราช ,คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำระดับกระทรวงฯและคำสั่งคณะทำงานแก้ไขปัญหาจังหวัด


นครศรีธรรมราช โดยมติที่ประชุมร่วมกำหนดแผนปฏิบัติการและงบประมาณตามบริบทจังหวัดนครศรีธรรมราช เสนอกรมประมง 5 มาตรการ 10 กิจกรรมและในที่ประชุมเห็นว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน และในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ขณะนี้พบการแพร่ระบาดกระจายในแหล่งน้ำ อ.ปากพนัง หัวไทร และพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งหลายจุด จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นก่อนที่การแพร่ระบาดจะลุกลามขยายวงกว้างออกแจนอยากที่จะแก้ไข โดยสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำปากพนัง จำกัด ขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อไป 

  นายไพโรจน์ รัตนรัตน์ สมาชิกสภาเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต อ.ปากพนัง กล่าวว่า สำหรับการประชุมในวันนี้ตนได้นำเสนอมาตรการเร่งด่วน อาทิ ให้จังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติ โดยแบ่งพื้นที่ที่แดง ซึ่งเป็นพื้นที่แพร่ระบาดอย่างหนัก สีเหลืองแพร่ระบาดเล็กน้อย เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับเกษตรกร ห้ามผู้ใดเเลี้ยงขยายพันธุ์อบ่างเด็ดขาด ให้จัดชุดไล่ล่าจับปลาหมอคางดำอย่างจริงจังต่อเนื่องและให้ตั้งจุดรับซื้อ 6 จุด อำเภอปากพนัง 3 จุด อำเภอหัวไทร จะรับซื้อ กก.ละ 15 บาท เพื่อบริโภคและทำลายโดยส่งขายโรงงานปลาป่น ซึ่งในที่ประชุมเห็นด้วยและมีมติให้เร่งดำเนินการอย่าวงเร่งด่วนต่อไป

  โดยปลาหมอคางดํา หรือ Blackchin tilapia จัดอยู่ในวงศ์ Cichlidae (ซิคลิเด) เช่นเดียวกับปลาหมอเทศ และปลาหมอสี ปลาชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่น้ำกร่อยปากแม่น้ำ สามารถทนทานความเค็มได้สูง พวกมันจึงพบแพร่กระจายตลอดแนวชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปที่ผ่านมา พบการนําเข้าพันธุ์ปลาหมอคางดําในหลายประเทศ ทั้งอเมริกา ยุโรป เอเชีย และพบมีรายงานการเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และฟิลิปปินส์ในระดับโลก “สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างถิ่น” คือปัญหาสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม จากรายงาน “Report on Invasive Alien Species” (พ.ศ. 2566) ขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ในหลายพื้นที่ทั่วโลกเกิดความโกลาหลด้านสิ่งแวดล้อมจากการรุกรานของพืชและสัตว์ต่างถิ่น 

  “ปลาหมอคางดำ” ปลาต้องห้าม แต่พบว่ามีการแพร่กระจายอยู่ในกว่า 13 จังหวัดของไทยขณะนี้ นี่คือ Alien Species หรือสายพันธุ์รุกรานต่างถิ่น ที่มีทั้งความอึด ทนทาน โตเร็ว และที่สำคัญยังอยู่ได้ในทุกแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม นั่นทำให้มันสามารถกระจายตัวไปในแหล่งน้ำธรรมชาติได้อย่างรวดเร็ว

  

ไพฑูรย์ อินทศิลา/ นครศรีธรรมราช 

        

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น