แม่ทัพภาค4แฉโจรใต้สุ่มไฟด้ามขวานนานกว่า20ปี ขอความร่วมมือกำนันผู้ใหญ่เป็นกระบอกเสียงเป่าประกาศให้ชาวบ้านที่เข้าใจผิดได้ทราบข้อเท็จจริง
เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 21 ต.ค.67 ที่อาคารห้องประชุมวิทยาลัยชุมชน จ.นราธิวาส อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส พล.ท.ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคภายในภาค 4 พร้อมด้วย พล.ต.เฉลิมชัย สิทธินวล ผอ.ศูนย์สันติวิธี และคณะ ได้เดินทางมาพบปะ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 13 อำเภอของ จ.นราธิวาส ตามโครงการสร้างความเข้าใจ แก้ปัญหาและนำพาสู่สันติสุข ซึ่งการนี้มีนายอำเภอ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรทั้ง 13 อำเภอ รวมไปถึงหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความมั่นคง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
ซึ่ง พล.ท.ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้ขึ้นกล่าวพบปะในที่ประชุม พอสรุปใจความว่า เหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่หมักหมมมานาน และส่วนใหญ่จะถูกนำมาเป็นประเด็นในการบิดเบือน ในการสร้างปัญหาให้ประชาชนเข้าใจรัฐผิดไปต่างๆนาๆ โดยที่รัฐไม่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้เข้าใจกันอย่างทั่วถึง แถมปัจจุบันโซเซียลยังถูกใช้มาเป็นเครื่องมือในการสร้างข่าวเท็จจนภาครัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารและฝ่ายปกครองได้รับความเสียหาย ง่ายๆคืออยุติธรรม 2 มาตรฐาน โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ทั่วถึง วันนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะได้รู้เท็จจริงที่เกิดขึ้นและไม่มีใครกล้าที่จะกล่าวในข้อเท็จจริงให้ท่านทราบ และเมื่อทราบจึงคาดหวังให้ทุกท่านนำไปขยายผล จะได้รู้ว่าในช่วงกว่า 20 ปี ข้อเท็จจริงความปั่นป่วนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดจากอะไร ฝีมือใครและหวังผลอะไร ที่มีทั้งเจ้าหน้าที่และชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ต้องตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะกำนันผู้ใหญ่บ้าน ถือเป็นกำลังสำคัญและเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจแก่พี่น้องประชาชน
ซึ่ง พล.ท.ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้กล่าวในที่ประชุมเพื่อชี้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่ากลุ่มขบวนการเขาเกี่ยวกันอย่างไรในเรื่องตากใบ ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า “ เหตุการณ์ตามมาทันที มี 6 คน ชรบ.แจ้งว่าถูกจี้ปืน แต่ถูกคดียักยอกทรัพย์ และแจ้งความเท็จ ศาลตัดสิน 3ปี 6 เดือน เหตุการณ์ 9 ตุลาคม มีการวางแผนเหตุการณ์ตากใบขึ้นมา สร้างความกดดันมาที่ตากใบ เจ้าหน้าที่ก็มีการปฏิบัติตามขั้นตอนให้สลายการชุมนุมตามขั้นตอนของการสลายม็อบ เนื่องจากเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น ต้องใช้กำลังก็ทำให้มีการบานปลาย ทำลายโรงพักตากใบทุบตีสิ่งของต่างๆ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าที่คิด ระหว่างเคลื่อนย้ายเสียชีวิตไปอีก 7-8 คน จนเป็นประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของคนตากใบ เราคิดว่าเหตุการณ์ต้องมองความเป็นธรรม เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่กลุ่มผู้ขบวนการและเหตุการณ์ 100 กว่าคน ที่คนตาย 28 เมษายน ใครเรียกร้องเค้ามั่ง แล้วก็พอเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้นตามลำดับ ก็มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับว่ามีการเตรียมการมาก่อนถึงขั้น ก็ได้สร้างเชื้อแล้ว ปี 54 นายฮาซัน ตอยิบ เป็นระดับแกนนำของขบวนการเค้าพูดผ่านสื่อเลยว่าการจุดไฟปฏิวัติให้ลุกโชนขบวนการแบ่งทำสำเร็จแล้ว ที่เหลือเป็นหน้าที่ของประชาชนในการนำเข้าสู่เอกราช ที่เค้ากล้าพูดแบบนั้นหมายความว่า การสร้างสถานการณ์ให้รุนแรงมากขึ้น มีคนเข้าสู่ขบวนการ สร้างบาดแผลให้พื้นที่ ก็เรียบร้อยแล้ว ที่เหลือก็เป็นในส่วนของภาคประชาชน ที่มาจากภายนอกเริ่มการเคลื่อนไหว เรียกร้องความยุติธรรมในเหตุการณ์ตากใบ”
ก่อนเดินทางกลับ พล.ท.ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 เปิดเผยว่า ส่วนเรื่องของเหตุการณ์ตากใบ วันนี้จะมาชี้แจงสถานการณ์ให้ทุกคนทราบว่าเหตุการณ์เกิด จากวันที่ 19 ตุลาคม 2567 จากกรณีนายกามา อาลี กับพวกถูกแจ้งข้อหาแจ้งความเท็จ ยักยอกอาวุธปืน นำไปสู่การชุมนุมวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นการจัดตั้งเตรียมการมา โดยเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายในการสลายผู้ชุมนุม ยอมรับว่ามีข้อผิดพลาดจนทำให้เกิดการสูญเสีย มีการดำเนินคดีแยกได้เป็น 3 ห้วง จนล่าสุดมีการสั่งฟ้อง 15 หมาย ผู้ต้องหา 14 คน ทางรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจดำเนินการเร่งรัดติดตามจับกุม รวมถึงเข้าสู่ระบบของตำรวจสากลออกหมายอินเตอร์โพล ทั้งนี้ในห้วงนี้เน้นย้ำหน่วยว่าฝ่ายตรงข้าม หรือมือที่สามอาจมีการสร้างสถานการณ์ ต้องยกระดับควบคุมพื้นที่ไม่ให้เกิดเหตุให้มากขึ้นจากที่ทำอยู่แล้ว พร้อมขอประชาชนในพื้นที่ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ร่วมมือกันในการช่วยดูแลพื้นที่ อย่าตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี ในการหวังสร้างสถานการณ์ให้รุนแรงมากขึ้น ประเทศบอบช้ำมามาก เหตุกาณ์เกิดมา 20 ปีแล้ว อยากให้มองไปข้างหน้ามากกว่า อดีตขอให้เป็นบทเรียน และปล่อยให้เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม
///////////////////////////////นราธิวาส/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ
0 ความคิดเห็น