ศาลนราฯให้เวลา 7 จำเลยหน้า สภ.ตากใบมอบตัวจนถึงเที่ยงคืนวันที่ 25 ต.ค.67 ก่อนที่จะหมดอายุความ

ศาลนราฯให้เวลา 7 จำเลยหน้า สภ.ตากใบมอบตัวจนถึงเที่ยงคืนวันที่ 25 ต.ค.67 ก่อนที่จะหมดอายุความ

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 ต.ค. 67 นายทรงพล พันธุ์วิชาติกุล พร้อมด้วยองค์คณะผู้พิพากษาศาลจังหวัดนราธิวาส ที่รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค 9 ออกนั่งบัลลังก์ ตามที่ศาลนัดสอบคำให้การและติดตามจับกุมจำเลยคดีตากใบ ซึ่งผ่านไป 2 ชั่วโมง จำเลยทั้ง 7 คนไม่ปรากฏตัวจำเลยมาศาล และยังไม่ปรากฏว่ามีการติดตามจับกุมได้ ทำให้ยังไม่สามารถดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ได้ ศาลจึงยังไม่จำหน่ายคดี และนัดการพิจารณาคดีในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 โดยระหว่างนี้ จำเลยสามารถมามอบตัว รวมถึงตำรวจยังติดตามจับกุมให้ได้ภายในอายุความ 20 ปี ที่จะครบในเที่ยงคืนของวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ถ้าหากจำเลยคนใดคนหนึ่งมามอบตัว หรือมีการติดตามจับกุมได้ ทันอายุความศาลจะพิจารณาในการสอบคำให้การตามขั้นตอนได้ในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นี้

โดยศาลจังหวัดนราธิวาส อธิบายเพิ่มเติมว่า ในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 เป็นการนัดประชุมคดี พิจารณาคดีมีคำสั่งและคำพิพากษาในคดีนี้ หลังคดีหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 แต่หากระหว่างนี้มีจำเลยมามอบตัว หรือถูกจับกุมได้ ไม่ว่าคนใดคนหนึ่งก็จะสามารถเริ่มกระบวนการพิจารณาคดีได้ แต่หากไม่มีในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 ศาลก็จะมีคำสั่งต่อคดีนี้เป็นที่สิ้นสุด

ทั้งนี้ศาล จ.นราธิวาส ได้รายงานหมายจับ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 หลังจากทำหนังสือสอบถามไปยังสภาผู้แทนราษฎร ผ่านสำนักงานศาลยุติธรรม ได้รับคำยืนยันว่า สส.ไม่ได้รับความคุ้มกันในระหว่างสมัยการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ 125 แล้ว ศาลจึงออกหมายจับได้ และเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มาตามนัดศาลเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยไม่อ้างเหตุขัดข้อง และพบว่าได้ลาการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงมีพฤติการณ์ในการหลบหนี ศาลจึงออกหมายจับ


สำหรับการนัดสอบคำให้การวันนี้ ศาลจังหวัดนราธิวาส โดยอธิบดีศาลภาค 9 เปิดให้ญาติ ในฐานะฝ่ายโจทก์ รวมถึงผู้สังเกตุการณ์และสื่อมวลชน เข้ารับฟังในห้องพิจารณาคดี และอนุญาตให้จดบันทึกได้ เพื่อให้สื่อมวลชนได้รายงานข่าวที่ถูกต้องเพราะเห็นเป็นคดีสำคัญ รวมทั้งได้อนุญาตให้นายรอมฎอน ปันจอร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ได้เข้าสังเกตการณ์ในครั้งนี้ด้วย

ด้านนายรัษฎา มนูรัษฎา เปิดเผยว่า การติดตามจับกุมจำเลยตามหมายจับได้หรือไม่ หรือจะมามอบตัวต่อสู้คดี ซึ่งเป็นโอกาสสุดท้าย โอกาสที่คุณจะเข้าสู่ขบวนการยุติธรรม แล้วก็พิสูจน์คำว่าเหตุการณ์มันเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้ทำการครบถ้วนถูกต้องแล้วอย่างไร วันนี้ศาลจึงเลื่อนคดีไปนัดพร้อมเพื่อประชุมคดี หรือฟังคำสั่งคำพิพากษา ในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 แต่ไม่มีจำเลย 7 คน มาที่ศาลได้ออกหมายจับไว้ มาศาลเลยสักคน มีแต่เพียงทนายความ จำเลยที่ 8 ที่ 9 ซึ่งเป็นพนักงานอัยการแก้ต่าง ว่าต่างให้จำเลยที่ 8 ที่ 9 แถลงต่อศาลว่าไม่ได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 8 ที่ 9 ศาลสอบถามว่า ทนายโจทก์หรือผู้แทนโจทก์จะแถลงอะไร ศาลจะช่วยบันทึกไว้ให้ มีคำแถลงทนายความฝ่ายโจทก์ ที่ร้องขอให้ศาลออกหมายเรียก เอกสารสำนวนสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรหนองจิก 4 แฟ้ม ซึ่งเคยส่งไปทางอัยการ แล้วศาลหมายเรียกแล้วแต่ไม่ส่งมา เรายากจะให้สำนวนคดี ซึ่งเป็นการสอบปากคำที่เกี่ยวข้องได้ปรากฏไว้ในสำนวนคดีของศาล

ด้านนายมูฮัมหมัดซาวาวี อูเซ็ง น้องชายผู้เสียชีวิต กล่าวว่า รู้สึกเหมือนกับว่าไม่ได้รับกระจ่างเกิดข้อสงสัยในกระบวนการเพราะศาลได้ออกหมายเรียกและออกหมายจับไปแล้วแต่ ณ เวลานี้ยังจับจำเลยทั้ง 2 สำนวนคดีไม่ได้สักคน ซึ่งผมรู้สึกว่าถ้ายังไม่ดำเนินการยังเป็นแบบนี้ก็รู้สึกหมดศรัทธากับกระบวนการยุติธรรม ถึงแม้ว่าจะมีกระบวนการแต่ได้เห็นและได้ฟังแล้วยังรู้สึกไม่สบายใจ และไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม แล้วยิ่งใกล้จะหมดอายุความแล้ว เลยเกิดคำถามว่าแม้ว่าจะไม่ใช่ฆาตกรเพราะคดียังไม่จบ แต่จำเลยทั้ง 15 คนยังจับมาดำเนินคดีไม่ได้ แล้วเราจะสู้ในทางไหนอีก เพราะเราในฐานะโจทก์ของญาติผู้เสียชีวิตที่ได้รับความเจ็บปวด ได้รับความเสียหายแค่ต้องการความยุติธรรม ให้เจ้าหน้าที่มาชี้แจงสู้ในกระบวนการยุติธรรม ผิดหรือไม่ผิดก็มาสู้ในกระบวนการยุติธรรม

   //////////////////////////////นราธิวาส/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ 


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น