สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจัดอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทางยุทธวิธี

 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจัดอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทางยุทธวิธีประเทศไทย(Thailand Tactical Emergency Medical Service: TTEMS) เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติการทางการแพทย์ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส


( 3 ต.ค.67 ) ที่ ค่ายจุฬาภรณ์ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ให้การต้อนรับ คณะจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และคณะผู้เข้าอบรม หลักสูตรการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทางยุทธวิธีประเทศไทย(Thailand Tactical Emergency Medical Service: TTEMS)ซึ่งมี


นาวาเอก (พิเศษ) พิสิทธิ์ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการอบรม ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และ เจ้าพนักงานสาธารณสุข จากทุกโรงพยาบาลในจังหวัดนราธิวาส


ทั้งนี้ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลหน่วยปฏิบัติการแพทย์ พ.ศ. 2564 ได้กำหนดลักษณะและการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการแพทย์ในระดับต่าง ๆ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับพื้นฐาน หน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูง และหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับเฉพาะทางซึ่ง


มีหลายสาขา เช่น สาขาฉุกเฉินการแพทย์ทางอากาศ สาขาจิตเวชฉุกเฉิน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาให้มีหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับเฉพาะทางเฉพาะสถานการณ์ เช่น สถานการณ์สาธารณภัย สถานการณ์ที่เป็นผลกระทบจากสารเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์ รวมทั้งสถานการณ์เฉพาะในพื้นที่พิเศษ ซึ่งจากสภาพปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ส่งผลต่อการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ จึงเป็นเป้าหมายที่ต้องพัฒนาให้มีหน่วยปฏิบัติการแพทย์เฉพาะทางปฏิบัติหน้าที่ แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการเป็นสำคัญ ซึ่งผู้ปฏิบัติการจะต้อง

มีความรู้ และทักษะเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ดังกล่าว 


ดังนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จึงได้จัดอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทางยุทธวิธีประเทศไทย(Thailand Tactical Emergency Medical Service: TTEMS) ขึ้น ซึ่งมีแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และ เจ้าพนักงานสาธารณสุข จากทุกโรงพยาบาลในจังหวัดนราธิวาส เข้าอบรมจำนวน 42 คน อบรมระหว่าง ระหว่างวันที่ 1 - 3 ตุลาคม 2567 โดยมีทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เกิดทักษะในการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา รวมทั้งบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัย 

- นราธิวาส/ข่าว-ซาการียา ดอเลาะ




แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น