ปลุกจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดกระบี่

 เครือข่ายควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ( ภาคใต้ตอนบน ) มูลนิธิคนเห็นคน ร่วมกับ สื่อส่งเสริมสนับสนุนปลุกจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดกระบี่ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.


ติดอาวุธทางปัญญา ฉีดวัคซีนจราจรความปลอดภัยทางถนนแก่เด็กและเยาวชน ตามหลักสูตร TSY PROGRAM ( Thailand Safe Youth ) ในจังหวัดกระบี่

วันที่ 28 พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ณ โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล นายวิโรจน์ วุ่นแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ ทีมวิทยากร ครู นักเรียน นักศึกษาอาชีวะและภาคีเครือข่าย ป้องกันอุบัติเหตุทางถนนตามหลักสูตร ( Thailand Safe Youth Program : TSY Program ) ทักษะคิดการเอาชีวิตรอดจากภัยถนน ในกลุ่มเด็กและเยาวชน”ตามแนวทางมนุษย์ปัจจัยเพื่อความปลอดภัยทางถนน มีนายสันติ เพชรแก้ว ประธานสื่อส่งเสริมสนับสนุนปลุกจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดกระบี่ สปปถ.กบ. กล่าวรายงาน 


นายวิโรจน์ วุ่นแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล กล่าวว่า ปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยมาโดยตลอด ซึ่งประเทศไทยมีเป้าหมายลดการเสียชีวิตลงให้ได้ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มที่บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงที่สุด ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งตัวบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ เราทุกคนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังต่อเนื่องและติดตามการทำงาน เพื่อลดปัญหาให้ได้ตามแผนของประเทศ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาด้านความปลอดภัยของเด็กและเยาวชน จึงอยากให้รวมพลังกัน เพื่อความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนไทย และถือเป็นก้าวที่สำคัญในการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ เป็นการที่จะร่วมกันจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษาในประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะ”วัคซีนจราจร” และการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัย ทั้งการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย การจัดการความปลอดภัยของนักเรียน การจัดการระบบจราจรบริเวณหน้าสถานศึกษาหรือบริเวณทางข้าม และการขับขี่รถจักรยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งนับเป็นผลผลิตอย่างดียิ่งที่จังหวัดกระบี่ ได้มีทรัพยากรที่มาช่วยกันติดอาวุธเชิงปัญญาให้กับเด็กและเยาวชน ในจังหวัดกระบี่ได้มีทักษะคิด การใช้ชีวิตประจำวันเอาชีวิตรอดจากภัยบนท้องถนน ตามแนวทางหลักสูตร Thailandland Safe Youth หรือ T.S.Y.Progam ของนาวาอากาศเอกสุวรรณ ภู่เต็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษย์ปัจจัยและความปลอดภัยระดับโลก โดยหลักสูตรนี้สามารถลดอัตราเจ็บตายจากอุบัติเหตุทางถนนได้จริง เพราะสาเหตุหลักการเกิดอุบัติเหตุเกิดจากคน ต้องติดอาวุธทางปัญญาให้กับคนถึงจะสำเร็จและปลอดภัยในชีวิต ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนว่าข้อมูลโครงการวิจัยเพื่อเมืองไทยไร้อุบัติเหตุระหว่างปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓ พบว่าอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นมีปัจจัยสาเหตุมาจากคนร้อยละ ๙๔ ปัจจัยสาเหตุจากถนนร้อยละ ๔ และปัจจัยจากร้อยละ ๒ ฉะนั้นการฝึกอบรมปัจจัยเพื่อความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุ ของการเกิดอุบัติเหตุการป้องกันอุบัติเหตุความปลอดภัยอันตรายความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงในการขับขี่ให้มีความปลอดภัยและองค์ความรู้ด้านมนุษย์ปัจจัยหมายถึงความผิดพลาดของมนุษย์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสมรรถนะและขีดจำกัดของมนุษย์ระบบการประมวลผลของมนุษย์ความตระหนักรู้ในสถานการณ์การตัดสินใจทัศนคติการตลาดความเหนื่อยล้าความเครียดซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นการพัฒนาทักษะมนุษย์ปัจจัยปรับทัศนคติให้ถูกต้องสร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนมีพฤติกรรมขับขี่ที่ปลอดภัยตามแนวทางมนุษย์ปัจจัยเพื่อความปลอดภัยทางถนน Thailandland Safe Youth หรือ T.S.Y.Progam หลักสูตรทักษะคิดการเอาชีวิตรอดจากภัยถนน เพื่อสร้างองค์ความรู้เข้าสู่รั้วสถานศึกษาในการขับเคลื่อนลดอุบัติเหตุทางถนนในเด็กและเยาวชน สำหรับจังหวัดกระบี่มีเด็กและเยาวชนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสะสม 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 – 2567 รวม 46 คน ปี2565 จำนวน 21 คน ปี 25666 จำนวน 19 คน และปี 2567 จำนวน 26 คน อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ.จังหวัดกระบี่ 


ด้านนายสันติ เพชรแก้ว ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯกล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนปี 2565-2570 มีเป้าหมายลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน ๑๒ คนต่อแสนประชากร จากข้อมูลศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บกรมควบคุมโรค พบว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด ซึ่งในช่วง ๑o ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๖๓) มีเด็กและเยาวชนช่วงอายุ ๑o - ๑๙ ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจำนวน ๒๖,o๓o คน หรือเฉลี่ยปีละ ๒,๖๙๓ คน และคาดการณ์แนวโน้มว่าจะมีเด็กและเยาวชนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น หากไม่มีการยกระดับการแก้ไขปัญหาเป็นวาระสำคัญในระดับชาติ ประเทศไทยจะสูญเสียกำลังสำคัญของชาติในการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ ทีมวิทยากร ครู นักเรียน นักศึกษาอาชีวะและภาคีเครือข่าย ป้องกันอุบัติเหตุทางถนนตามหลักสูตร ( Thailand Safe Youth Program : TSY Program ) ทักษะคิดการเอาชีวิตรอดจากภัยถนน ในกลุ่มเด็กและเยาวชน”ตามแนวทางมนุษย์ปัจจัยเพื่อความปลอดภัยทางถนน โดยนำหลักสูตรการเรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็กและเยาวชน หรือเรียกว่า “วัคซีนจราจร” เน้นการปรับทัศนคติ สร้างกระบวนการคิดด้านด้านความปลอดภัย ทักษะการประเมินความเสี่ยงและคาดการณ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุ และการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยหลักสูตรดังกล่าว เป็นหลักสูตรที่พัฒนาและคิดค้นขึ้นโดย นาวาอากาศเอกสุวรรณ ภู่เต็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตในกลุ่มเด็กและเยาวชน ในการติดอาวุธทางปัญญาให้เด็กและเยาวชนมีทักษะที่จำเป็นและถูกต้องในการใช้รถ ใช้ถนน โดยใช้แนวทาง ทักษะคิดเอาชีวิตรอดจากภัยบนท้องถนน หรือ Human Factor For Road Safety มาสร้างการเรียนรู้ 6 โมดูล ได้แก่ 1.การจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นในการใช้รถ ใช้ถนน 2.การประมวลผลข้อมูลและขีดจำกัดของมนุษย์ 3.ความตระหนักรู้ในสถานการณ์ 4.การตัดสินใจ 5.ทัศนคติอันตราย 6.การจัดการความเหนื่อยล้า

 การจัดโครงการฯครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยบุคลากรครู นักเรียน นักศึกษาอาชีวะ จากวิทยาลัยเทคนิคกระบี่ วิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่ และโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลรวมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สันติ เพชรแก้ว ภาพ/ข่าว





แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น