ปภ. รายงานความคืบหน้าสถานการณ์แผ่นดินไหวและการให้ความช่วยเหลือประชาชน ย้ำ ทุกหน่วยงานร่วมเป็นกลไกการทำงานภายใต้ บกปภ.ช. เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนในทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
วันนี้ (29 มีนาคม 2568) เวลา 08.00 น. ณ ห้องกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ สรุปสถานการณ์แผ่นดินไหวและความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะเลขานุการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากกรณีเหตุแผ่นดินไหวศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 ลึก 10 กิโลเมตร ในช่วงบ่ายของเมื่อวานนี้ ทำให้ประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง สามารถรับรู้แรงสั่นไหวได้ในพื้นที่ รวม 57 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา แพร่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร เลย สกลนคร อุดรธานี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สระบุรี อ่างทอง จันทบรี ฉะชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช ระนอง สุราษฎร์ธานี รวมถึงกรุงเทพมหานคร
โดยมีแผ่นดินไหวตาม (Aftershock) ขนาด 2.8 – 7.1 รวม 56 ครั้ง เบื้องต้นได้รับรายงานความเสียหาย 13 จังหวัด และกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้เสียชีวิต จำนวน 9 ราย ผู้บาดเจ็บ จำนวน 9 ราย และผู้สูญหาย จำนวน 101 ราย ปัจจุบันมีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดแพร่ รวมทั้งกรุงเทพมหานครที่มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติเต็มพื้นที่ ในส่วนของความเสียหายในพื้นที่จังหวัดอื่นนั้นขณะนี้ได้รับรายงานความเสียหายจาก 14 จังหวัด ดังนี้
โดยมีแผ่นดินไหวตาม (Aftershock) ขนาด 2.8 – 7.1 รวม 56 ครั้ง เบื้องต้นได้รับรายงานความเสียหาย 13 จังหวัด และกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้เสียชีวิต จำนวน 9 ราย ผู้บาดเจ็บ จำนวน 9 ราย และผู้สูญหาย จำนวน 101 ราย ปัจจุบันมีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดแพร่ รวมทั้งกรุงเทพมหานครที่มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติเต็มพื้นที่ ในส่วนของความเสียหายในพื้นที่จังหวัดอื่นนั้นขณะนี้ได้รับรายงานความเสียหายจาก 14 จังหวัด ดังนี้




อำเภอเกาะคา เสียหาย ศาลาวัดลำปางหลวงเกิดรอยร้าว อ.เมืองฯ อาคาร รพ.ลำปาง มีรอยร้าว เสาอาคาร มทร.ล้านนาลำปางเสียหาย อ.แม่ทะ ต.บ้านกิ่ว บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 6 หลัง ต.นาครัว บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 1 หลัง โรงรถ 1 แห่ง อาคาร อบต.บ้านกิ่ว มีรอยร้าว 2 หลัง อ.แม่พริก ต.แม่พริก บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 10 หลัง อาคาร รพ.แม่พริก มีรอยร้าว อ.งาว ต.บ้านแหง บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 7 หลัง อาคารเก็บพืชผลการเกษตร 2 หลัง อ.ห้างฉัตร ต.ปงยางคก บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 3 หลัง ต.แม่สัน บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 1 หลัง ต.ห้างฉัตร วัดพระธาตุปางม่วง เสียหาย อ.วังเหนือ ต.วังซ้าย กุฏิวัดบ้านสบม่า เสียหายไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและสียชีวิต


ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต







ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือ ในทุกพื้นที่ได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณะกุศล ภาคเอกชน และจิตอาสา และพลเรือน ได้เข้าให้การช่วยเหลือและสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับการปฏิบัติของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เมื่อคืนนั้น ได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ระดมทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR) จำนวน 48 นาย พร้อมอุปกรณ์ค้นหาสัญญาณชีพและอุปกรณ์พิเศษเข้าสนับสนุนการปฏิบัติให้กับกรุงเทพมหานครในบริเวณจุดที่มีอาคารถล่มและมีผู้ติดค้างและสูญหาย และได้ร่วมกับ กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือส่ง SMS แจ้งประชาชน จำนวน 4 ครั้ง โดยเมื่อเวลา 14.42 น. แจ้งประชาชนสามารถเข้าอาคารได้กรณีจำเป็น เวลา 16.07 น. แจ้งข้อควรปฏิบัติกรณีเกิดแผ่นดินไหว เวลา 16.09 น. แจ้งข้อควรปฏิบัติหลังเกิดแผ่นดินไหว และเวลา 16.45 น. แจ้งประชาชนสามารถเข้าอาคารได้หากได้ตรวจสอบโครงสร้างอาคารแล้ว
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้สั่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตรียมพร้อมกำลังพลและเครื่องจักรกลสาธารณภัยของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตทั้ง 18 ศูนย์เขต เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ และเตรียมพร้อมสนับสนุนหากได้รับการร้องขอ ปัจจุบัน ปภ. ได้ส่งกำลังพลพร้อมด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัย กว่า 14 รายการ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจีนบุรี และเขต 16 ชัยนาท เข้าร่วมปฏิบัติการสนับสนุนการค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัยกว่า 355 รายการ ให้พร้อมสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนของจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตลอด 24 ชั่วโมง
“กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะฝ่ายเลขานุการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้เน้นย้ำให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัด และศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้ากรุงเทพมหานคร ติดตามสถานการณ์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว และเร่งสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด” นายภาสกร อธิบดี ปภ. กล่าว
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะปักหลักติดตามสถานการณ์และประสานการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด โดยประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์ การให้ความช่วยเหลือ รวมถึงวิธีการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย ได้ทาง Facebook กรมป้องกันและบรรเทาาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews และหากประชาชนได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป ////////////
0 ความคิดเห็น